อีเมล์ :
รหัสผ่าน :
ลืมรหัสผ่าน
สภาพสังคม

สภาพทางสังคม

 การศึกษา

          ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก                            จำนวน           4        แห่ง

          โรงเรียนประถมศึกษา                         จำนวน           4        แห่ง

          โรงเรียนมัธยมศึกษา                          จำนวน           1        แห่ง

สาธารณสุข

          โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลป่าเว       จำนวน           1        แห่ง

          คลินิกพยาบาล                                จำนวน           3        แห่ง

ยาเสพติด 

พื้นที่ตำบลป่าเว  ผู้ติดยาเสพติดและได้รับการบำบัดตามโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด กิจกรรมสำหรับส่งเสริม  บำบัดฟื้นฟูผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด  และส่งเสริมการฝึกอาชีพให้แก่ผู้ผ่านการบำบัด  

         

การสังคมสงเคราะห์

                    องค์การบริหารส่วนตำบลป่าเวได้ดำเนินการด้านสงคมสังเคราะห์ ดังนี้

๑. ดำเนินการจ่ายเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุ  ผู้พิการ  และผู้ป่วยเอดส์ 

๒. รับลงทะเบียนและประสานโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด

๓. ประสานการทำบัตรผู้พิการ

๔. รวบรวมข้อมูลผู้ยากจน  ยากไร้  รายได้น้อย และผู้ด้อยโอกาสไร้ที่พึ่ง เพื่อให้ได้รับความช่วยเหลือต่อไป         

 

ระบบบริการพื้นฐาน

5.1 การคมนาคมขนส่ง

          สถานีรถไฟ                                    จำนวน           1        แห่ง

          ทางหลวงแผ่นดิน                              จำนวน           1        สาย

          ทางหลวงจังหวัด                              จำนวน           4        สาย

          ถนนหมู่บ้าน                                   จำนวน           67      สาย

 

โทรศัพท์

ประชาชนส่วนใหญ่ในตำบลป่าเวใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ และโทรศัพท์บ้านในการติดต่อสื่อสาร

ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์

ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลป่าเว  มีไปรษณีย์เอกชน   จำนวน  2  แห่ง  ให้บริการ เวลา  ๐๘.๐๐ –  ๑๖.๐๐ น.  ในวันจันทร์ – เสาร์ (วันเสาร์ครึ่งวัน)  หยุดวันอาทิตย์  

การบริการ

-ปั้มน้ำมันและก๊าซ                                     จำนวน           3        แห่ง

-ร้านอาหาร                                             จำนวน           6        แห่ง

                   -อู่ซ่อมรถ                                               จำนวน           4        แห่ง    

-ห้องพัก/รีสอร์ท                                       จำนวน           4        แห่ง

-นวดแผนไทย                                          จำนวน           1        แห่ง

 

การท่องเที่ยว

          พื้นที่ตำบลป่าเว  มีสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม  ได้แก่

            - วัดเววน  ม.1  ต.ป่าเว

            - วัดเดิมเจ้า  ม.5  ต.ป่าเว

            - แหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง  ม.6  ต.ป่าเว

 

 

6.6 อุตสาหกรรม

- โรงงานอุตสาหกรรม                                จำนวน            4          แห่ง 

6.7 การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ

          การพาณิชย์

- ปั้มน้ำมันและก๊าซ                                     จำนวน            3          แห่ง

- โรงสี                                                   จำนวน            2           แห่ง  

                   - รีสอร์ท                                                จำนวน            4           แห่ง

                    กลุ่มอาชีพ

                   -กลุ่มเลี้ยงวัว  หมู่ที่  3

                   -กลุ่มเลี้ยงปลา  หมู่ที่  4

                   -กลุ่มปาล์มน้ำมัน  หมู่ที่  4

                   -กลุ่มเพาะเห็ดฟาง  หมู่ที่  6

แรงงาน

       

   จำนวนประชากรในวัยทำงานของตำบลป่าเว  ประกอบอาชีพ                                   

- อาชีพเกษตรกรรม – ทำนา       คิดเป็น   1.18 %

- อาชีพเกษตรกรรม – ทำไร่        คิดเป็น   0.03 %

- อาชีพเกษตรกรรม – ทำสวน     คิดเป็น 52.43 %

- อาชีพเกษตรกรรม – ประมง      คิดเป็น   0.03 %

- อาชีพเกษตรกรรม – ปศุสัตว์     คิดเป็น   0.03 %

- อาชีพรับราชการ                  คิดเป็น   3.94 %

- อาชีพพนักงานรัฐวิสาหกิจ        คิดเป็น   0.18 %

- อาชีพพนักงานบริษัท              คิดเป็น   1.00 %

- อาชีพรับจ้างทั่วไป                 คิดเป็น   1.00 %

- อาชีพค้าขาย                       คิดเป็น   3.34 %

- อาชีพธุรกิจส่วนตัว                คิดเป็น   2.26%

- อาชีพอื่น ๆ                        คิดเป็น   1.05%

- กำลังศึกษา                        คิดเป็น 22.87%

- ไม่มีอาชีพ                          คิดเป็น   7.05%

 

ศาสนา ประเพณี  วัฒนธรรม

การนับถือศาสนา

          นับถือศาสนาพุทธ                   คิดเป็นร้อยละ  99.60

          นับถือศาสนาอิสลาม                คิดเป็นร้อยละ    0.33

          นับถือศาสนาคริสต์                  คิดเป็นร้อยละ    0.08

ประเพณีและงานประจำปี

 ประเพณีสวดทุ่ง
          กิจกรรม ประเพณีสวดทุ่ง เป็นประเพณีเก่าแก่ของอำเภอไชยาที่ถือปฏิบัติกันมาแต่โบราณสะท้อนให้เห็นความเชื่อของชาวบ้านเกี่ยวกับภูตผีปีศาจ เสนียดจัญไรต่าง ๆ ในปัจจุบันประเพณีนี้ยังถือปฏิบัติกันอยู่ในหมู่ของชาวบ้านในบางพื้นที่ของอำเภอไชยา
          การสวดทุ่งจัดขึ้นเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชาวบ้านและหมู่บ้าน เพื่อขับไล่เสนียดจัญไรภูตผี ปีศาจ ไข้ห่า และ ความชั่วร้ายทั้งปวง นอกเหนือจากนี้เป็นการทำบุญรวมของหมู่บ้าน เพื่อเป็นการพบปะสังสรรค์ อันก่อให้เกิดความสามัคคี ซึ่งเป็นผลดีต่อการประกอบกิจการงานทั้งปวง ประเพณีจะจัดขึ้นในเดือน 6 บางหมู่บ้านจะทำในเดือน 5  หรือเดือน 7 ก็มี สถานที่จัดมักเป็นสถานที่เขตกลาง ไปมาหาสู่สะดวกมีบ่อน้ำกินน้ำใช้ ท้องนาใดมีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ก็มักจะใช้สถานที่นั้น
          ประเพณีเริ่มขึ้น โดยในตอนเย็นของงานวันแรกจะนิมนต์พระสงฆ์ไปสวดมนต์เย็นกลางทุ่งนาหรือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ตกลงกันไว้หลังจากสวดเสร็จในตอนค่ำจะจัดให้มีมหรสพเพื่อสมโภช เช่น หนังตลุง มโนราห์ เพลงบอก กลองยาว ภาพยนตร์ ฯลฯ มหรสพต่าง ๆ มักแสดงกันจนสว่าง ในวันรุ่งขึ้นชาวบ้านจะนิมนต์พระสงฆ์มาสวดและฉันภัตตาหารเช้า โดยชาวบ้านจะนำอาหารคาว อาหารหวานมาถวาย หลังจากพระสงฆ์ฉันเสร็จแล้ว ชาวบ้านจะร่วมกันรับประทานอาหาร ก็เป็นอันเสร็จงาน
 
                                  

          ประเพณีทำบุญเดือนสิบ

          ประเพณีนี้เป็นประเพณีเก่าแก่ ของภาคใต้ทาเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ ล่วงลับไปแล้วเฉพาะที่อําเภอไชยาได้ถือ อย่างเคร่งครัดมาโดยตลอดเพราะถือว่า เป็นประเพณีที่แสดงออกถึงความกตัญญูอย่างสูงยิ่งต่อบรรพบุรุษ  ปัจจุบันบางคนเรียกวันนี้ว่า “วันกตัญญู” วันรับตายาย ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 วันนี้เชื่อว่า เป็นวันที่พญายมปล่อยเปรตขึ้นมาจากนรกชาวบ้านจะจัดสํารับคาวหวาน ดอกไม้ธูปเทียนไปกราบพระที่วัด ส่วนวันส่งตายายตรงกับวันแรม 15 ค่ำเดือน 10 ถือเป็นวันที่เปรตจะต้องกลับไปสู่นรกตามเดิม จึงต้องจัดเตรียมเครื่องคาว 16 หวานไปทําบุญอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้ตายายหรือเปรตนํากลับไปใช้นั่นเองวันส่งตายายจะมีการทํา “หนมตายาย” ได้แก่ขนมลา ขนมกรุบ ยาหนม กระยาสารท ขนมพอง ขนมบ้า ขนมไข่ปลา และผลไม้เป็นต้น ขนมดังกล่าวชาวบ้านจะจัดใสกระเชอนําไปถวายพระที่วัด หลังจากที่ถวายพระแล้วชาวบ้านจะนําอาหารและขนมส่วนหนึ่งไปวางตามสถานที่ต่างๆ ภายในวัด เช่นประตูวัด โคน ต้นไม้ริมกําแพง เพื่อให้เปรตหรือตายายไม่มีญาติมารับอาหารเหล่านี้เรียกว่า “ตั้งเปรต” หรือ อาจจะนําไปวางที่หลาเปรต” ซึ่งสร้างยกพื้นขึ้นมาหลังจากกระทําพิธีสงฆ์เสร็จแล้ว ชาวบ้านจะเข้าไปแย่งของจาก “เปรต” กันอย่างสนุกสนาน เรียกว่า “ชิงเปรต” ในท้องที่อําเภอไชยาอาหารอย่างหนึ่งที่ทุกครัวเรือนต้องทําไปถวายพระ และวางให้เปรต ด้วยคือ “น้ำพริกผักจุ้ม” ด้วยปู่ ย่า ตา ยายสั่งสอนต่อๆ กันมาว่าต้องทําบุญให้แก่ตายายโดยมีสิ่งนี้ด้วยเพราะเป็นสิ่งที่ตายายชอบหลังจากทําบุญในตอนเช้าเสร็จแล้วก็จะมีการบังสกุลบรรพบุรุษ แต่บางแห่งทันในตอนเย็น หลังจากนั้นก็เป็นเสร็จพิธีประเพณีรับส่งตายายนอกจากทําเพื่อจุดประสงฆ์ ดังกล่าวแล้วยังเป็นการรวมญาติอีกด้วยคือทำให้ญาติพี่น้องได้พบปะสมาคมกัน เพราะทุกคนไม่ว่าจะไปอยู่ ณ ที่ใด ต้องเดินทางกลับไปยังบ้านของบิดามารดาเพื่อร่วมพิธีดังกล่าว

          ประเพณีรดน้ำขอพรผู้สูงอายุ

          วันสงกรานต์ของอําเภอไชยา แตกต่างจากที่ปฏิบัติ กันอยู่ในถิ่นอื่นบ้าง โดยถือว่าช่วงสงกรานต์คือวันที่ 13-15 เมษายน วันที่ 13 เป็นวัน มหาสงกรานต์วันที่ 14 เป็นวันว่าง และวันที่ 15 เป็นวันเถลิง ศก ชาวไชยาถือว่าทั้งสามวันนี้คือ วันที่เทวดาไม่อยู่รักษา ใครจะทํางานอาชีพไม่ได้จะเกิดอุบัติเหตุ หรือเป็นไปต่างๆ นานา สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ จะถูกเก็บไว้มิให้นำมาใช้เป็นการชั่วคราว

          ประชาชนส่วนใหญ่จะจัดเตรียมอาหารคาวหวานไปทําบุญที่วัดใกล้บ้านในตอนเช้าของวันสงกรานต์หลังจาก ทําบุญที่วัดเสร็จแล้วชาวบ้านจะนําอาหาร เครื่องบูชาและเครื่องใช้บางอย่างไปมอบให้ผู้อาวุโส โดย 13 ถือโอกาสรดน้ำเพื่อแสดงออกซึ่งความเคารพนับถือ ความกตัญญูกตเวทีบางแห่งจะทําพิธีรดน้ำผู้อาวุโสอย่างใหญ่โต โดยแต่ละหมู่บ้านจะเชิญผู้อาวุโสทุกคนมาร่วมพิธีเมื่อรดน้ำผู้อาวุโสเสร็จแล้ว ชาวบ้านจะพากันมาชุมนม เพื่อความสนุกสนานรื่นเริงมีการเล่นต่างๆ เช่น สะบ้า ชักเย่อแข่งขันการชักลากไม้จากป่าเข้าวัด เป็นต้น ในเวลากลางคืนมีมหรสพต่างๆ มาแสดง เช่น หนังตะลุง มโนห์รา และเพลงบอกสําหรับเพลงบอก แม่เพลงและลูกคู่จะเดินกันเป็นกลุ่มไปตามบ้านต่างๆ แล้วขับ เพลงบอก เพื่อการบอกถึงการเปลี่ยนศักราชใหม่ ชาวบ้านจะออกมาต้อนรับโดยมอบ ขนม สิ่งของ และบางทีก็เป็นสุราให้แก่ผู้ขับเพลงบอก ส่วนหนังตะลุงมโนห์ราจะแสดงตลอดคืน และในตอนรุ่งเช้ามักจะจัดให้มีการชนวัวควายด้วย ปัจจุบันประเพณีสงกรานต์ของอําเภอไชยาเสื่อมความนิยมลงไปเป็นอันมาก ความเชื่อและการปฏิบัติบางอย่างลดน้อยลงไป แต่อย่างไรก็ ตามสิ่งหนึ่งที่ยังปฏิบัติกันมิได้ขาดคือเมื่อถึงวันนี้จะมีการรดน้ำและมอบสิ่งของให้แก่คนเฒ่าคนแก่

 

          ประเพณีลากพระ

          ลากพระ เป็นศัพท์ของชาวปักษ์ใต้ลากพระคือ การแห่พระนั่นเอง ตามความหมายของศัพท์ หมายถึงพิธีบุญที่มีการแห่พระพุทธรูปออกจากวัดไปบําเพ็ญกุศลแล้วแห่กลับวัด วันที่มีการลากพระคือ แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ของ ทุกปีเป็นวันที่พระสงฆ์ออกพรรษา หรือที่เรียกว่าวันปวารณา ทั้งนี้โดย นิยมเอาตามเรื่องราวที่ปรากฏในเทโวโรหสูตรว่า ในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 นั้น

          สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จลงจากชั้นดาวดึงส์สู่โลกมนุษย์ภายหลังที่พระองค์ทรงจําพรรษาอยู่บนชั้น ดาวดึงส์หนึ่งพรรษา เพื่อเทศนาโปรดสมเด็จพุทธมารดา เมื่อถึงวันออกพรรษา เราจึงได้เห็นพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศไปวัดเพื่อบําเพ็ญกุศล ในภาคอื่นๆ ส่วนใหญ่มีการตักบาตร แต่สําหรับปักษ์ใต้นอกจากมีการทําบุญตักบาตรแล้ว ยังมีการลากพระ (แห่พระ) อีกด้วย ส่วนชาวบ้านทั่วไปก่อนวันลากพระหนึ่งวันจะเตรียมอาหารสําหรับถวายพระสําหรับขนมที่ ขาดไม่ได้ข้าวต้มใบพ้อซึ่งทําเป็นรูปสามเหลี่ยมรีทุกๆ บ้านจะต้องทําขนมชนิดนี้เหมือนกันหมดส่วนขนมอื่นๆ มีบ้างแต่น้อยมาก นอกจากจะต้องจัดเตรียมอาหารแล้วต้องจัดหาเสื้อผ้าไว้แต่ง ประกวดประชันกันในวันลากพระด้วย ในตอนเช้าตรู่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ชาวบ้านจะรีบไปวัด เพื่อตักบาตรหน้าพระลากซึ่งอัญเชิญขึ้นประดิษฐานบนบุษบก สําหรับเรือพระทางน้ำทางวัดมัก กําหนดให้เรือพระทั้งหมดไปประชุมกัน ณ ที่ใดที่หนึ่ง เพื่อให้ชาวบ้านไปตักบาตร บางแห่งอาจจะทําเป็นศาลาไว้ริมน้ำสําหรับวางบาตรเรียกว่า “หลาบาตร” หลังจากนั้นพระก็จะฉันภัตตาหารเช้า การลากพระออกจากวัดไปยังที่ชุมนุมเรือพระ จะเริ่มเมื่อพระฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว แต่เดิม การลากพระเป็นการลากอย่างแท้จริงโดยเฉพาะเรือบกไม่มีรถยนต์ทําเป็นลําเรือพระอย่าง เดี๋ยวนี้เมื่อเรือพระผ่านหมู่บ้านใด ประชาชนจะนําอาหารมาถวายกลาที่ชุมนมเรือพระ ตอนใกล้เที่ยงประชาชนจะถวายภัตตาหารเพลแก่พระสงฆ์หลงจากนั้นชาวเมืองจะสนุกสนานกับการละเล่นต่างๆบรรดาเรือพระต่างๆ อาจจะลากกลับในวันนั้น หรืออาจจะต้องอยู่ร่วมเพื่อสมโภช 1 คืน แล้วลากกลับประเพณีลากพระเป็นประเพณีอันสําคัญยิ่งของชาวอําเภอไชยาที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่โบราณกาล การปฏิบัติประเพณีนี้แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตที่ศรัทธาในพุทธศาสนาของชาวไชยาอย่างแท้จริง การดํารงประเพณีนี้ทํากันมาโดยตลอดอาจกล่าวได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งในการดํารงไว้ซึ่ง พระพุทธศาสนาในอําเภอไชยานอกจากนี้ประเพณีลากพระได้แสดงให้เห็นถึงความสามัคคีและกําลังกาย ทําให้มีเรือพระและมาร่วมงานลากพระ

          ประเพณีซอแรง

          ประเพณีซอแรงเป็นประเพณีที่ทํากันมา แต่โบราณ บางแห่งเรียกว่า “ออกปาก” ใน ปัจจุบันประเพณีนี้ยังทํากันอยู่อย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในอําเภอ ซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตร การซอแรงก็คือการที่ฝ่ายหนึ่งมีงานทําในไร่นา สวนหรือที่บ้านแล้วมี